![]() |
อุ้มผาง |
Widebase Tour |
|
ประมวลภาพอุ้มผาง |
|||||||||||||
ชาวปกากะญอและโพล่วอุ้มผาง กับต่อสู้ทางการเมืองในปัจจุบันหลังจากกรณีมือดาบแม่จันทะ ปี 2535 ทางการได้เร่งรัดแก้ไขการปฏิบัติกับชาวบ้านในเขตนี้ สมเด็จพระเทพรัตนสุดา ได้เสด็จบ้านแม่จันทะในปี 2537 และมีรับสั่งให้ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนของการศึกษานอกเรียนโรงเรียน ส่วนชาวปกากะญอและโพล่วส่วนใหญ่เริ่มตระหนักว่าพวกเขาไม่สามารถต่อสู้ด้วยอาวุธได้อีกแล้ว โดยผู้อาวุโสของชุมชนกล่าวถึงคำทำนายของเพอเจะองค์ที่ 7 ว่า ยุคหลังจากการต่อสู้ด้วยอาวุธแล้ว พวกเราต้องต่อสู้ด้วยปาก นอกจากการเผชิญกับอำนาจรัฐแล้ว พวกเขากังวลถึงการเผชิญหน้ากับวัฒนธรรมพื้นราบที่กำลังคุกคามพวกเขา ผู้อาวุโสหลายคนได้ฟื้นฟูวิถีดั้งเดิมคือ การนับถือเพอเจะ พื้นที่เหล่านี้คือ บ้านกรูโบ นำโดยลุงเนเต๊อะ บ้านมอทะ นำโดยลุงพินิจ บ้านทิจอชี นำโดยจอวาเอ ปัจจุบันเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลมาแล้ว 2 สมัย บ้านกุยต๊ะ นำโดยจอวาโพ ในส่วนบ้านรอบแม่จันทะ คือ ช่องเปะ ทิบาเก และตะละโค่ง นับถือเพอเจะมาโดยตลอด บ้านกรูโบ กลับเข้าสู่วิถีเดิมตั้งแต่หลังการวางอาวุธ มีผู้เข้าร่วม 5 ครัวเรือนจาก 25 ครัวเรือนสามารถดำเนินประเพณีเพอเจะมาได้ประมาณ 15 ปี สมาชิกเริ่มรู้สึกมีความลำบากในการปฏิบัติและคนรุ่นปัจจุบันได้รับอิทธิพลเมือง และเข้าสู่วัฒนธรรมที่ราบค่อนข้างมา ทำให้ความต่อเนื่องหายไป การฟื้นฟูเพอเจะในบ้านกรูโบจึงยุติลงในที่สุด
บ้านมอทะ ลุงพินิจ ผู้เคยเป็นลูกศิษย์เพอเจะเริ่มฟื้นฟูประเพณีเพอเจะเมื่อปี 2545 และค่อนข้างประสบความสำเร็จ เช่น ในงานบุญปีใหม่ ประมาณขึ้น 8 ค่ำเดือน 4 ถึง 15 ค่ำเดือน 4 มีผู้เข้าร่วมเป็นชาวปกากะญอเกือบทุกหมู่บ้านในตำบลแม่จัน และบางหมู่บ้านในตำบลอื่น บ้านทีจอชี เริ่มการฟื้นฟูประเพณีในช่วงเดียวกับบ้านมอทะ รวมถึงการกลับไปสู่วิถีการผลิตดั้งเดิมคือ การทำไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิม ไม่ปลูกพืชเชิงพาณิชย์
บ้านกุยต๊ะ มีความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติจนถึงขั้นอดข้าวประท้วงในปี 2547 การเผชิญหน้าสาเหตุหนึ่งมาจากความขัดแย้ง ระหว่างผู้ใหญ่บ้านเก่ากับกลุ่มผู้ประท้วงที่นำโดยจอวาโพ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติมาควบคุมการถางไร่ เหตุการณ์นี้เป็นฟางเส้นสุดท้ายนำไปสู่การประท้วงด้วยอดข้าวและคืนบัตรประชาชนของชาวบ้าน 96 คนจาก 16 ครัวเรือน เมื่อการประท้วงยุติลง กลุ่มนี้จึงรวมตัวกันภายใต้วิถีชีวิตดั้งเดิมคือ การทำไร่และทำนาร่วมกัน พวกเขาสามารถขุดเหมืองลึก 2 - 3 เมตรยาว 1.5 กิโลเมตรด้วยจอบ เสียม และแรงงาน มรดกสิ่งหนึ่งจากการต่อสู้คือ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม ที่เป็นการรวบรวมเครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการดำรงชีวิต สิ่งทอ และเครื่องดนตรี ด้วยคำประกาศวางเครื่องมือหากิน ขณะที่อดข้าวประท้วง
ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549 |
|||||||||||||
สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase |