อุ้มผาง

Home

Widebase Tour
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
widebase tour
อุ้มผาง
ปกากะญอ
เดินทางท่องเที่ยว
 
อุ้มผาง
รู้จักอุ้มผาง
ชื่ออุ้มผาง
ตำนานอุ้มผาง
ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน
หมู่บ้านในอุ้มผาง
สถานที่ท่องเที่ยว
 

ประมวลภาพอุ้มผาง
น้ำตกทีลอชู
ทัศนียภาพอุ้มผาง
พิพิธภัณฑ์ในอุ้มผาง
ล่องแพอุ้มผาง
บ้านกรูโบ
บ้านตะละโค่ง
น้ำตกทีโบะ
พิธีเปิดอนุสรณ์สถานสงครามประชาชน ม่งคั๋วะ

ดูรายละเอียด

รู้จักอุ้มผาง

อุ้มผางเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งใหญ่นเรศวร ชาวโพล่ว เรียกทุ่งใหญ่ว่า เวียจ่าที่ และบริเวณที่เรียกว่า มอโลโกะปรอ พื้นที่นี้อยู่ในตำบลแม่ละมุ้ง ชื่อ "เวียจ่าที่" แปลว่า ที่อยู่อันสว่างไสว ลุงเนเต๊อะ บ้านกรูโบ หมู่ 8 ตำบลแม่จัน เล่าให้ฟังว่า "ตำนานของเพอะเจะ (คนไทยเรียกว่า ฤาษี) บอกไว้ว่าหลังพุทธกาล คนจะกลายมาร เมืองจะกลายเป็นป่า และป่าจะกลายเป็นเมือง" อาจจะนำไปขยายความหมายของชื่อทุ่งใหญ่ในภาษาโพล่วได้

อุ้มผางเป็นเมืองโดดเดี่ยวที่ปิดล้อมด้วยเทือกเขาสูง 2 ด้านและทุ่งหญ้ากว้าง จึงเป็นทางตันด้วยปราการทางธรรมชาติ เมื่อย้อนอดีตอุ้มผางของที่นี่จึงไม่ได้เป็นทางผ่านทางการค้า หรือบทบาททางประวัติศาสตร์โดยตรง แต่เมื่อข้ามเขาก่องก๊องไปฝั่งกาญจนบุรีจะไม่ห่างจากด่านเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งเป็นเส้นทางเคลื่อนพลของไทยและพม่าในอดีต อาจจะทำให้มีข้อพิจารณาบางประการเติมเพิ่ม ในประวัติศาสตร์โดยตรงที่รับทราบอาจจะมีความเกี่ยวข้องส่วนบ้าง เช่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามการเล่าของพะหม่อลา บ้านกุยเขอะ หมู่ 6 ตำบล แม่จัน ในสมัยที่อาศัยอยู่ที่บ้านเซ่ปะละ ตำบลแม่ละมุ้ง บอกว่าเคยเห็นเครื่องบิน 2 ฝ่ายยิงกัน และเห็นซากเครื่องบินตก มีผึ้งทำรังที่เครื่องยนต์ ทุ่งหญ้าบริเวณนั้นได้ชื่อว่า "กะบอหล่อเต่ปรอ" หรือทุ่งเครื่องบินตก พบหมวกนักบินในถ้ำแถวนั้น

ก่อนหน้าปี 2513 อุ้มผางแทบจะไม่เป็นรับรู้ จนมาถึงช่วงสงครามประชาชน ชื่อของอุ้มผางจึงได้รับการกล่าวถึงในฐานะดินแดนอันโดดเดี่ยวและอันตราย ชาวปกากะญอในอุ้มผางส่วนมากได้เข้าร่วมกับฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนกระทั่ง ปี 2519 ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษาได้เข้ามาที่จำนวนหนึ่ง รวมถึงเสกสรร ประเสริฐกุล และจีรนันท์ พิตรปรีชา

บ้านแม่จันทะ อุ้มผาง ที่เป็นที่ตั้งองค์กรนำจังหวัดตาก ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เป็นฉากหนึ่งในหนังสือ "คนล่าจันทร์" และสร้างเป็นภาพยนต์ชื่อ "14 ตุลา สงครามประชาชน"

ปัจจุบันคนรู้จักอุ้มผางในฐานะแหล่งทางธรรมชาติ น้ำตกทีหล่อชูที่โด่งดัง บึงลากะโตที่เริ่มมีผู้กล่าวถึง บึงแฝดทิโพจิ ฤาษีไล่ตังคุ ดูเหมือนว่าความรู้จักเป็นเรื่องของความแปลกใหม่ แต่ความพยายามเข้าใจยังมีไม่มากนัก เช่น การกล่าวถึงฤาษี ในบางเว็บพูดถึงการแต่งกายที่แตกต่าง ไม่ใส่ชั้นใน เป็นต้น

ชาติพันธ์ในอุ้มผาง

ในอุ้มผาง ประกอบด้วย 4 ชาติพันธ์ คือ ไทย ม้ง ปกากะญอ และโพล่ว ภาษาไทยเหนือเรียก ปกากะญอ ว่า ยาง ปัจจุบันใช้คำว่า กะเหรี่ยงดอย ส่วน โพล่ว ปัจจุบันเรียกว่า กะเหรี่ยงน้ำ

ไทย อาศัยอยู่ในราบหุบเขาอุ้มผางในตำบลอุ้มผาง แม่กลองใหม่ และหนองหลวง

ม้ง อาศัยอยู่ที่บ้านแม่ก่องม้ง หรือบ้านแม่กลองใหญ่ในปัจจุบัน อีกส่วน อาศัยอยู่บริเวณบ้านทุ่งนาน้อย ตำบลแม่ละมุ้ง ตะวัน ออกเฉียงใต้ของอำเภออุ้มผาง ปัจจุบันถูกอพยพไปอยู่ที่อำเภอพบพระ ม้ง แปลว่า "คน"

ปกากะญอ เป็นคนส่วนใหญ่และดั้งเดิมของที่นี่ ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ บ้านหม่องคั๋วะ ขึ้นมาทางเหนือ ปกากะญอ แปลว่า "คน" คำเรียกชาติพันธ์ตัวเอง คือ จึอก่อ

โพล่ว เป็นคนดั้งเดิม ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่บ้านหม่องคั๋วะลงไปทางใต้ โพล่ว แปลว่า "คน" คำเรียกชาติพันธ์ตัวเอง คือ ฉู

นอกจากนี้ยั งชาวไทยในพม่าอพยพกลับมาอยู่ที่บ้านเปิ่งเคลิ่ง ภาษาคนกลุ่มนี้ใกล้เคียงกับภาษาลาว

ปกากะญอและโพล่วตั้งถิ่นฐานที่นี่มากกว่า 200 ปี สองชาติพันธ์นี้ใกล้เคียงกันมาก วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมมีจุดร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ การแต่งกาย ภาษา และรายละเอียดการปฏิบัติต่างกันเล็กน้อย ในตำนานของเขาบอกว่าพวกเขาเป็นพี่น้องกัน รวมถึงตอซู (ต้องสู้) หรือปะโอ

คำเรียก "กะเหรี่ยง" ชาวปกากะญอจะเรียกตัวเองว่า กะเหรี่ยง และเรียกชาวโพล่วว่า กะหร่าง ในทางตรงข้าม ชาวโพล่วจะเรียกตัวเองว่า กะเหรี่ยง และเรียกชาวปกากะญอว่า กะหร่าง

เดิมปกากะญอและโพล่วในแถบนี้นับถือเพอเจะ จนกระทั่งประมาณปี 2535 มีความขัดแย้งระหว่างชาวโพล่วแม่จันทะกับเจ้าหน้าที่จนถึงขั้นปะทะกันด้วยความรุนแรง หลังจากนั้นจึงมีการตั้งสำนักสงฆ์และนิมนต์พระมาจำพรรษาในหลายหมู่บ้าน

 

ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549

ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม


รู้จักอุ้มผางในอีกมุมมอง จัดทำโดย widebase

ดูรายละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase