อุ้มผาง

Home

Widebase Tour
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
widebase tour
อุ้มผาง
ปกากะญอ
เดินทางท่องเที่ยว
 
อุ้มผาง
รู้จักอุ้มผาง
ชื่ออุ้มผาง
ตำนานอุ้มผาง
ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน
หมู่บ้านในอุ้มผาง
สถานที่ท่องเที่ยว
 

ประมวลภาพอุ้มผาง
น้ำตกทีลอชู
ทัศนียภาพอุ้มผาง
พิพิธภัณฑ์ในอุ้มผาง
ล่องแพอุ้มผาง
บ้านกรูโบ
บ้านตะละโค่ง
น้ำตกทีโบะ
พิธีเปิดอนุสรณ์สถานสงครามประชาชน ม่งคั๋วะ

ดูรายละเอียด

ความหมายของชื่อ "อุ้มผาง"

ที่มาของชื่อ "อุ้มผาง" ของราชการกล่าวว่ามาจากคำว่า "อุ้มผะ" ที่เป็นคำเรียกกระบอกไม้ไผ่สำหรับเก็บเอกสารเดินทางในภาษาปกากะญอ แล้วกร่อนมาเป็นคำว่า "อุ้มผาง" ในขณะที่ ชาวปกากะญอหลายคน บอกว่ามาจากคำว่า "อูกึผะ" แปลว่า ไฟจะไหม้ไปทั่ว โดยได้อธิบายความหมายว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดและขยายไปทั่วไป

ชาวปกากะญอและโพล่วบอกว่าพวกเขาได้อาศัยอยู่ที่นี่มาช้านาน มีตำนานเล่าว่าบ้านไล่ตังคุที่เป็นศูนย์กลางของผู้นับถือ "เพอเจะ" หรือฤาษีในภาษาไทย ตั้งขึ้นในวันเดียวกับวันตั้งเมืองกรุงเทพฯ ดังนั้นพวกเขาต้องอาศัยมานานกว่า 200 ปี

ตำนานที่น่าสนใจของพื้นที่คือ เคยเป็นเส้นทางถอยของกษัตริย์มอญลงมาทางใต้โดยการเดินผ่านบ้านเปิ่งเคลิ่ง มาตามห้วยเกริงเปอตีจนบรรจบแม่น้ำแม่จัน แล้วตามแม่น้ำไปถึงสบแม่น้ำแม่จัน (ปัจจุบันคือบ้านแม่จันทะ) จึงเดินตัดข้ามเขาก่องก๊องข้ามไปยังสังขละบุรี ในช่วงนี้พระอุปราชมอญได้สิ้นพระชนม์บนยอดเขานี้ บนเขามีต้นชงโคขนาดใหญ่หลายต้นและเป็นจุดชมวิวที่มองเห็นบริเวณสบแม่จันกับแม่กลอง

เขาก่องก๊อง

ลุงเนเต๊อะ ชาวโพล่ว บ้านกรูโบ หมู่ 8 ตำบลแม่จัน อธิบายคำว่า "แม่จัน" มาจากภาษามอญ "แม๋จัน" เมะ แปลว่า วังน้ำ จัน แปลว่า แปด และ "แม่กลอง" มาจากภาษามอญเช่นกัน "แม๋กอง" กอง แปลว่า ร้อย ดังนั้นคำว่า "กองจัน" แปลว่า ร้อยแปด และ "รูตกองจัน" หมายถึง พระพุทธรูป 108 องค์

ในตำบลแม่จันมีชื่อภาษามอญอยู่หลายแห่ง เช่น เปิ่งเคลิ่งมาจากเปิงเกลิง กรูโบมาจากกลึงโบ (เป็นชื่อหวายชนิดหนึ่ง) ร่องรอยเหล่านี้ทำให้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่มีความน่าสนใจมากขึ้น

ในอดีตก่อนที่ถนนสายแม่สอด-อุ้มผางสร้างเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2530 ชาวปกากะญอและพื้นที่แถบนี้อาจจะนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า ถ้าหากพิจารณาถึงความสัมพันธ์กับศูนย์อำนาจ ชาวปกากะญอติดต่อค้าขายกับชาวปกากะญอในพม่า พวกเขาไปซื้อเกลือ ข้าวของเครื่องใช้ และนำวัวควายไปขายที่ "เจด่ง" ในเขตพม่าด้วยเส้นทางผ่านบ้านเปิ่งเคลิ่ง พวกเขารู้จักหมู่บ้านในเขตพม่ามากกว่าหมู่บ้านเขตไทยของพื้นที่อื่น เช่น พบพระ หรือแม่สอด

ตามความสัมพันธ์นี้ทำให้ที่มาของชื่ออุ้มผางตามคำอธิบายของทางการไทยน่าจะมีข้อจำกัด เนื่องจากพวกเขาแถบนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงเขตไทย การจัดหาสิ่งของเครื่องใช้มาจากแหล่งในพม่าที่เดินไปง่ายและปลอดภัยมากกว่า

 

ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549

ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม


รู้จักอุ้มผางในอีกมุมมอง จัดทำโดย widebase

ดูรายละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase