ปกากะญอและโพล่ว

Home

Widebase Tour
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
widebase tour
อุ้มผาง
ปกากะญอและโพล่ว
เดินทางท่องเที่ยว
 
ปกากะญอและโพล่ว
ความเชื่อและศีลธรรม
ประเพณี
วิถีชีวิต
 
วิถีชีวิต
การเกิด
การแต่งงาน
การตาย
การทอผ้า
การทำไร่หมุนเวียน
 

ประมวลภาพอุ้มผาง
ประเพณีปีใหม่เพอเจะ
งานบุญกวนน้ำนมข้าว
งานศพ
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 1
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 2

ดูรายละเอียด

การทำไร่หมุนเวียน

ชาวปกากะญอและโพล่วในแถบอุ้มผางดำรงชีพด้วยการทำไร่ข้าวเป็นหลัก บางส่วนทำนา แต่ยังคงต้องทำไร่ข้าว ในไร่ข้าวนอกเหนือจากการปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านจะปลูกพืชอีกหลายชนิด เช่น ผัก เครื่องหอม แตง มะเขือ ฟัก ยาสูบ งา เป็นต้น สำหรับการบริโภค รวมทั้งจะปลูกไม้ประดับ เช่น ดาวเรือง ดังนั้นไร่ข้าวของพวกเขาจึงไม่ใช่เพียงแหล่งผลิตอาหาร แต่เป็นวิถีชีวิต

ความเคารพและยอมรับภายในสังคม ลำดับแรก คือ ความสามารถในการผลิต มีข้าวเพียงพอกับการบริโภค ลำดับต่อมา คือ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การช่วยเหลือบุคคลอื่น การบำเพ็ญประโยชน์ ผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับต้องมีสิ่งนี้เหล่านี้เป็นจริยธรรมเบื้องต้น ความรู้อื่นเป็นส่วนประกอบ

วิธีการทำไร่ที่นี่เหมือนกับชาวปกากะญอในพื้นที่อื่นคือ การทำไร่หมุนเวียน โดยการถางไร่และเพาะปลูกเพียง 1 ฤดูกาลและปล่อยไว้ให้ป่าฟื้นตัว 7 – 10 ปี จึงย้อนกลับมาทำใหม่ ระบบการผลิตนี้ทำให้ป่ามีโอกาสได้พักฟื้นและยั่งยืน ในลุ่มแม่จันพวกเขาได้อยู่อาศัยมามากกว่า 200 ปี ป่ายังคงอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านที่นี่ตั้งคำถามว่า "ไล่ตังคุกับกรุงเทพฯ ตั้งขึ้นวันเดียวกัน เดี๋ยวนี้ กรุงเทพฯมีป่าหรือเปล่า ที่นี่พวกเราอยู่กับป่าและรักษาป่าให้ลูกหลาน ”

ข้าวกับชีวิต

วิถีชีวิตของชาวปกากะญอและโพล่วแสดงออกในรูปวัฒนธรรมข้าว การยอมรับจากสังคมคือ ต้องไม่ไปขอข้าวคนอื่น ชาวบ้านที่นี่กล่าวถึงคำสอนของคนรุ่นพ่อแม่ว่า "อยากกินข้าวอร่อยก็ต้องทำไร่ให้เก่ง อยู่บ้านขอเพียงมีข้าวพอกิน เก็บผักหญ้ามากมายรอบบ้าน เพียงเท่านี้ก็มีความสุขแล้ว ทุกข์ของคนกะเหรี่ยงก็คือการที่ไม่มีข้าวกิน ดังนั้นถ้าอยากจะมีความสุข ก็ต้องปลูกข้าวให้เก่ง จะได้ไม่ต้องไปขอเขา" (1) และเพิ่มเติมว่า "ในเมื่อเราเป็นคนทำไร่ทำนาเหมือนกัน ถ้าต้องไปขอข้าวคนอื่นจะเป็นเรื่องน่าอับอายมาก"

ในการอบรมสั่งสอนภายในสังคมเกี่ยวกับการเพาะปลูก ได้สะท้อนผ่านนิทานเรื่องหนึ่ง (2)

มีครอบครัวหนึ่งลูกชายชอบเที่ยวเตร่ ไม่ชอบทำไร่ทำนา และไม่อยากอยู่ในหมู่บ้าน วันหนึ่งได้บอกกับพ่อแม่ว่าจะออกไปทำงานรับจ้างหาเงินหาทองมา จะได้ร่ำรวย พ่อแม่ได้ยินก็พากันคัดค้านและขอร้องลูกชายว่าอย่าไปเลย ที่บ้านก็มีข้าว มีผัก มีหญ้า มีถั่ว มีงา ขอเพียงขยันทำไร่ ก็พออยู่พอกินแล้ว แต่ลูกชายไม่เชื่อ ดื้อรั้นที่จะออกไปหางานทำภายนอก ลูกชายได้หายไปนาน จนกระทั่งวันหนึ่งได้กลับมาพร้อมกับเพื่อน ได้คุยอวดคุยโตถึงการออกไปทำงานหาเงินได้มากมาย พ่อแม่ได้ฟังแล้วก็รู้สึกเสียใจ เมื่อถึงเวลาอาหาร แม่ก็ได้ยกเอาสำรับออกมาเลี้ยงดูลูกชายและเพื่อน ในสำรับที่ยกออกมานั้นมีแต่เหรียญสตางค์เต็มไปหมด

การเลือกพื้นที่

ชาวปกากะญอและโพล่ว จะเริ่มถางไร่ในแรม 8 ค่ำเดือน 2 ประมาณปลายมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ พวกเขาจึงต้องออกมาเลือกพื้นที่สำหรับการถางไร่ก่อนหน้าเริ่มฟันไร่เล็กน้อย

วิธีการเลือกพื้นที่แสดงให้เห็นถึงความรู้เกี่ยวกับป่าและวิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ถ้ามีโอกาสอยู่ที่สูงใกล้หมู่บ้านจะมีโอกาสเห็นแนวป่าที่เป็นสีเขียวเข้มและสีเขียวอ่อน นี่เป็นวิธีการจัดสรรพื้นที่ป่าสำหรับการเพาะปลูกและป่าต้นน้ำ รวมถึงอาณาบริเวณของหมู่บ้าน

พื้นที่ป่าไร่เลา

ตามปกติแบ่งการใช้สอยป่าอย่างง่ายได้เป็น

  • พื้นที่ทำไร่ ส่วนเป็นป่าไผ่และไร่เลา (ไร่เก่าที่ปล่อยทิ้งร้าง)
  • พื้นที่ป่าต้นน้ำ เป็นเขตหวงห้าม
  • พื้นที่ป่าใช้สอย เช่น ป่าที่มีต้นไม้สำหรับเก็บใบมุงหลังคา เช่น ตองตึง ค้อ เป็นต้น รวมถึงการเป็นแหล่งอาหาร

ข้อกำหนดการเลือกพื้นที่ถางไร่

  • ไม่เป็นพื้นที่ป่าต้องห้ามตามประเพณี
  • ไม่เป็นข้อห้ามตามประเพณีในการเลือกพื้นที่ทำไร่
  • ไม่มีลางบอกเหตุ

ตามปกติคนที่นี่จะเลือกทำไร่ในไร่เลาหรือไร่เก่าที่ปล่อยทิ้งร้าง ไม่ถางไร่ในป่าดงที่ไม้ใหญ่มาก เนื่องจากป่าดงให้ปุ๋ยมากเกินไปทำให้ข้าวเจริญงอกงาม แต่ไม่ให้รวงข้าว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "บ้าใบ" ในปัจจุบันมีการบุกรุกป่าดงสำหรับการปลูกพริกเพื่อเป็นพืชเศรษฐกิจ กรณีเป็นผลจากการพัฒนาที่ส่งผลกระทบกับแนวดั้งเดิมของคนในถิ่นนี้

เมื่อเลือกที่ได้เรียบร้อยแล้ว จะมีการเสี่ยงทายและจองที่ด้วยบากไม้เป็นเครื่องหมาย ในคืนนั้นถ้าฝันไม่ดีจะถือว่าพื้นที่นั้น ซึ่งจะต้องหาพื้นที่ใหม่ ถ้าฝันดีจะถือว่าได้รับอนุญาต

ก่อนหน้าการถางไร่ต้องทำพิธีบอกกับ ซ่งธะรี หรือแม่ธรณี และเจ้าป่าเจ้าเขาอีกครั้ง ถ้าเกิดลางไม่ดีต้องหาพื้นที่ใหม่ การเลือกพื้นที่มีนัยยะมาก เนื่องจากมีผลกับการดำรงชีวิตในปีต่อไป

การถางไร่

การถางไร่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ตามปกติจะเสร็จสิ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นมีนาคม จากนั้นตากไร่เป็นเวลาประมาณ 1 เดือนให้ไม้แห้งสนิท ถ้าสมาชิกในหมู่บ้านถางไร่ไม่ได้ เช่น เจ็บป่วย ชาวบ้านจะมาช่วยถางไร่ เนื่องจากการถางเริ่มต้นล่าช้าหรือเสร็จล่าช้าจะมีผลการเผาไร่ ปัจจุบันในลุ่มแม่จันยังมีการช่วยเหลือภายในชุมชนหลงเหลืออยู่

การถางไร่

เมื่อถึงช่วงขึ้นเดือน 5 จะเป็นเวลาการเผาไร่ ช่วงหลังจากนี้จะเข้าช่วงเดือน ตาลา หรือเมษายน ตาปกติจะมีฝนตกเป็นครั้งคราว ดังนั้นจึงเป็นข้อกำหนดต่อช่วงการถางไร่ ในเดือนนี้ ชาวโพล่วถือเป็นเดือนปีใหม่และเป็นเดือนมงคล จะไม่มีกิจกรรมอัปมงคล

ชาวบ้านทั้งหมดต้องการให้ไหม้ดีในการเผาไร่ เพราะวัชพืชไม่มาก ข้าวงามดี หลังการเผ่าไร่เป็นการรื้อไร่ ในช่วงหลังเดือนพฤษภาคม งานนี้เป็นการเก็บรวบรวมไม้ที่ไหม้ไฟไม่หมดมากองและเผา

การหยอดข้าว

การหยอดข้าวเริ่มในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนมิถุนายน การเลือกช่วงเวลาจะพิจารณาฝนตกจนดินชุ่มฉ่ำและคาดว่าจะมีฝนตกต่อเนื่อง เนื่องจากการหยอดข้าวแล้วฝนแล้ง นกจะมากินข้างเชื้อที่หยอดไว้ การคาดการณ์ฝนตกจะใช้พฤติกรรมสัตว์บางชนิด (3) เช่น หิ่งห้อยบินสูงกว่าปกติแสดงว่าฝนจะเริ่มตก หรือเริ่มได้ยินเสียงกบในป่า

ก่อนการหยอดข้าว เจ้าของไร่ต้องทำพิธีบอกกับพิบุ๊โย หรือแม่โพสพ เพื่อให้พิบุ๊โยลงจากสวรรค์มาคุ้มครองรักษาต้นข้าวให้ปราศจากโรคและศัตรูพืชเบียดเบียน จนกระทั่งเก็บเกี่ยวและนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง จากนั้น พิบุ๊โย จะกลับไปสถิตย์บนสวรรค์อีกครั้งหนึ่งจนกว่าฤดูกาลผลิตต่อไป (4)

เมื่อถึงเวลาหยอดข้าวก็จะไปช่วยกันให้เสร็จทีละครอบครัว วันที่หยอดข้าวต้องเป็นวันมงคล การลงมือหว่านข้าวเจ้าของไร่จะเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกแม่ข้าว โดยชายหนุ่มจะปักหลุมและหญิงสาวจะหยอดข้าว ชายหนุ่มผู้ซึ่งปักหลุมจะไม่สามารถหยอดข้าวได้เลยในตลอดวันนั้น และหญิงสาวผู้ซึ่งหยอดข้าวจะไม่สามารถปักหลุมได้ เมื่อเสร็จแล้วหากยังมีเชื้อข้าวเหลืออยู่ในมือของผู้หยอดข้าว เจ้าของไร่จะบอกกับพวกเขา ให้เก็บรวมกันไว้ในกระชุ หญิงสาวผู้หยอดข้าวแรกจะหยิบมาหน่อยหนึ่ง แล้วหยอดเป็นหลุมสุดท้าย จากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้าน (5)

เมื่อหยอดข้าวเสร็จ ในบางพื้นที่จะมีพิธีกินเชื้อข้าว โดยเจ้าของไร่จะนำเชื้อข้าวที่เหลือจากการหยอดข้าวกลับไปต้มเหล้า เรียกชายหนุ่มและหญิงสาวที่ปักหลุมและหยอดข้าวแรกมาดื่มด้วย พร้อมกับขอเชิญผู้เฒ่าผู้หนึ่งมาทำพิธีรินหัวเหล้าและอธิฐานขอพรจากเทพยดา ให้ลงมาดื่มหัวเหล้าและมาโปรดให้ข้าวเจริญงอกงามดี พิธีกรรมนี้เรียกว่า "พิธีกินเชื้อข้าว" (6)

ดู การทำไร่หมุนเวียน หน้า 2

 

ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549

ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม



รู้จักอุ้มผางในอีกมุมมอง จัดทำโดย widebase

ดูรายละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase