ปกากะญอและโพล่ว

Home

Widebase Tour
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
widebase tour
อุ้มผาง
ปกากะญอและโพล่ว
เดินทางท่องเที่ยว
 
ปกากะญอและโพล่ว
ความเชื่อและศีลธรรม
ประเพณี
วิถีชีวิต
 
วิถีชีวิต
การเกิด
การแต่งงาน
การตาย
การทอผ้า
การทำไร่หมุนเวียน
 

ประมวลภาพอุ้มผาง
ประเพณีปีใหม่เพอเจะ
งานบุญกวนน้ำนมข้าว
งานศพ
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 1
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 2

ดูรายละเอียด

การทอผ้า

การทอผ้าถือเป็นอัตลักษณ์ของผู้หญิงปกากะญอและโพล่ว ในอดีตพวกเขาต้องทำการผลิตเครื่องนุ่งห่มด้วยฝ้ายที่ถูกเองในไร่ข้าว แต่ปัจจุบันในบางครอบครัวเริ่มทอผ้าไม่ได้ จากการให้บริจาคเสื้อผ้าและซื้อหาจากเมือง

การกะขนาด

การทอผ้าของกะเหรี่ยงก่อนที่จะขึ้นเครื่องทอ จำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการทอ ก่อนว่าจะทอเพื่อใช้ทำอะไร เช่น ทอย่าม ทอเสื้อ ทอผ้าถุง ฯลฯ และต้องกำหนดขนาดไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของเครื่องนุ่งห่มของชนเผ่ากะเหรี่ยง เป็นการนำผ้าแต่ละชิ้นมาเย็บประกอบกัน โดยไม่การตัด (ยกเว้นความยาว) ดังนั้นการทอผ้าแต่ละครั้งจึงต้องกะให้ได้ขนาดที่จะนำมาเย็บ แล้วสวมได้พอดีตัว กะเหรี่ยงไม่มีเครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานในการวัด จึงต้องใช้วิธีกะประมาณ โดยอาคัยความเคยชิน การกะขนาดของผ้าที่จะทอแต่ละครั้ง ผู้ทอจะยึดรูปร่างของตนเป็นมาตรฐานว่า เมื่อขึ้นเครื่องทอเพื่อทอเสื้อของตนต้องเรียงด้ายสูงประมาณเท่าไหร่ของไม้ที่เสียบบน " แท แบร อะ" หรือไม้ขึ้นเครื่องทอ เช่นประมาณว่า "ครึ่งไม้" หรือ "ค่อนไม้" เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อต้องทอให้ผู้อื่นจึงต้องเพิ่ม หรือลดขนาดของด้ายลง โดยอาศัยการเปรียบเทียบจากรูปร่างของผู้ทอดังกล่าว ปกติแล้วความกว้างของผ้าที่ทอได้มีขนาดเพียง 1 ใน 4 ของรอบอก ผู้สวมใส่ อย่างหลวม ๆ ถ้าทอผ้าห่มความกว้างอาจเท่ากับ 1/2 หรือ 1/3 ของความกว้างที่ต้องการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปประกอบเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ผืนผ้าที่ทอจะเท่ากัน 4 เท่าของความยาวแท้จริงของเสื้อ หรือชุดยาวก็จะทอผ้าขนาดเดียวกัน คือ 2 ผืน โดยแต่ละผืนมีความยาว 2 เท่าของความยาวที่แท้จริง เป็นต้น เครื่องทอผ้าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า แต่เดิมรูปแบบของการทอผ้าของกะเหรี่ยงเป็นแบบใด แต่เท่าที่ปรากฏให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าเป็นแบบทอมัดเอว หรือห้างหลังเช่นเดียวกับการทอผ้าของละวะ และะลาหู่ ซึ่งลักษณะการทอผ้านี้คล้ายของชาวเปรูสมัยโบราณ ชนเผ่าแถบกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และแมกซิโก ก็พบว่ามีการทอผ้าด้วยเครื่องทอแบบห้างหลังเช่นกัน

ส่วนประกอบของเครื่องทอผ้าห้างหลัง มีดังนี้

  • แผ่นหลังหรือผ้าหนา ๆ ส่วนมากจะใช้หนังสัตว์ เช่นหนังกวาง ฯลฯ ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 4-6 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว ปลายสองข้างเจาะรูร้อยเชือกสำหรับคล้องกับปลายไม้รั้งผ้าที่ทอให้ตึง โดยพันอ้อมกับเอวผู้ทอ ชาวกะเหรี่ยงเรียก "อย่า คู เพ่ย"
  • ไม้สำหรับพันผ้า เป็นไม้จริงท่อนกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/2 นิ้ว ยาว 20-24 นิ้ว ผ่าครึ่งประกอบปลาย 2 ข้าง บากเป็นช่องสำหรับใช้คล้องเชือกจากแผ่นหนัง เป็นไม้อันแรกที่ใช้พันด้าย เมื่อเริ่มขึ้นเครื่องทอ และใช้สำหรับม้วนเก็บผ้าที่ทอแล้ว
  • ไม้กระทบหรือหน่อทาแพะ เป็นไม้จริงหน้ากว้าง 4-5 นิ้ว ใช้สำหรับแยกด้ายยืนให้มีช่วงกว้างขึ้น เพื่อสะดวกในการสอดด้ายขวาง และใช้กระทบด้ายขวางให้แน่น
  • ไม้ช่วยแยกด้ายหรือลู่โข่ เป็นปล้องไม้ไผ่กลม ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 1/2 - 2 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว ใช้สำหรับแยกเส้นด้าย
  • ไม้หน่อสะยา เป็นไม้ไผ่เหลาให้กลมเรียวเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3/4 ยาวประมาณ 20-25 นิ้ว การทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ จะใช้ไม้หน่อสะยาอย่างน้อย 3 อัน ไม้หน่อสะยานี้ควรมีไว้หลาย ๆ อัน เพราะมีประโยชน์หลายอย่าง คือ
  • ใช้สำหรับคล้องด้ายตะกอ เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน เวลาขึ้นเครื่องทอ เมื่อทอจะยกขึ้น สลับกับไม้ช่วยแยกด้าย
  • ใช้เครื่องกำหนดแนว และจัดระเบียบเส้นด้ายยืนตะกอ
  • ใช้กำหนดตะกอสำหรับการทอผ้าที่มีตะกอหลายชุด จำนวน ไม้หน่อสะยาที่ใช้ในการนี้ จะมีจำนวนเท่ากับตะกอการขึ้นเครื่องทอ

การขึ้นเครื่องทอ

เป็นการนำเส้นด้ายมาเรียงกันอย่างมีระเบียบตามแนวนอนขนานไปกับไม้ขึ้น เรียงลำดับไว้ ดังนี้ การเรียงด้ายจะใช้จำนวนคู่ เช่น 2 เส้น หรือ 4 เส้นครบก็ได้หากต้องการผ้าหนา เช่น ผ้าห่ม ก็ใช้ด้ายไปแยกที่ตะกอเป็น 2 ส่วน ๆ ละ 2 เส้น หากเป็นเส้นด้ายพื้นเมืองปั่นเอง ปกตินิยมใช้ด้ายยืนเพียงเส้นเดียว เวลาเรียงใช้ 2 เส้นควบ หากเป็นด้ายสำเร็จรูป จะใช้ด้ายยืน 2 เส้นเวลาเรียงใช้ 4 เส้นควบ จำนวนด้ายอาจเพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่เป็นการทอผ้าลายนูนตามแนวยาว เช่น การทอเสื้อของผู้ชายสูงอายุของกะเหรี่ยงสะกอจะใช้ด้ายยืนปกติ คือ 1 เส้น เวลาเรียงใช้ 2 เส้นควบ เมื่อถึงเวลาจะเพิ่มด้ายยืนเป็น 2 หรือ 3 เส้น ฉะนั้นเวลาเรียงด้ายต้องใช้ 4 หรือ 6 เส้นควบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ

การเรียงด้ายมีขั้นตอนดังนี้

  • คล้องด้ายที่หลักที่ 1 และสาวด้ายทั้งหมดผ่านหลักที่ 2, 3, 4 และ 5 นำไปคล้องหลักที่ 6 และสาวกลับมาคล้องหลักที่ 1
  • ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันและนำมาพันรอบหลักที่ 2 ตามแนวเข็มนาฬิกา
  • ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันมาทางด้านหน้าหลักที่ 3 ซึ่งเป็นจุดแยกได้ โดยใช้ด้ายอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างด้ายที่แยกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ด้ายส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกผ่านด้านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้อง ตะกอดึงผ่านด้านหน้าหลักที่ 4
  • รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ดึงให้ตึงสาวพันอ้อมหลักที่ 5 ตามแนวเข็มนาฬิกา
  • ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพันอ้อมหลักที่ 6 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่หากต้องการสลับสี ก็เปลี่ยนด้ายกลุ่มใหม่เป็นสีที่ต้องการ โดยเริ่มตั้งแต่หลักที่หนึ่งเช่นกัน ทำหมุนเวียนไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนด้ายที่เรียงมีความสูงเท่ากับความกว้างของผ้าทีต้องการใช้
  • ถอดไม้ทั้งหมดออกจากไม้ขึ้นเครื่องทอ และนำไม้หน่อสะยาสอดเข้าไป เก็บตะกอแทนไม้กลูโข่ (หลักที่ 6) ซึ่งต้องใช้สำหรับช่วยแยกด้ายเวลาทอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วทอจะมีลักษณะดังภาพ จากนั้นนำเครื่องทอทางด้านไม้รั้งผ้าไปผูกยึดกับฝา หรือเสาระเบียงบ้าน โดยให้ได้ระดับความสูงประมาณศรีษะของผู้ทอขณะที่นั่งราบกับพื้น ส่วนทางด้านไม้พันผ้า นำแผ่นหนังมาอ้อมรอบเอวด้านหลังของผู้ทอ และผูกรั้งหัวท้ายกับปลายทั้งสองของไม้พันผ้า พร้อมกับดึงเครื่องทอให้ตึงพอประมาณ โดยผู้ทอกระเถิบถอยหลังนั่งในตำแหน่งที่เหมาะสม

การกรอด้ายขวาง

ด้ายขวาง คือ ด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืนปกติแล้ว การทอผ้าของคนพื้นราบจะกรอใส่หลอดด้าย และติดกระสวย นำสอดผ่านเข้าไประหว่างด้ายยืน แต่การทอของกะเหรี่ยงไม่มีกระสวย จึงต้องใช้ด้ายพันไม้ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร โดยมือซ้ายจับปลายไม้ด้านหนึ่งวางทาบกับหน้าขาขวา ใช้มือขวาปั่นฝ้ายเข้าหาตัวโดยให้ด้ายผ่านเข้ามาระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางของมือซ้าย ทำเช่นนี้จนด้ายในไม้มีมากพอควรแล้ว จึงกรอใส่ไม้อันใหม่ วิธีกรอด้ายแบบนี้กะเหรี่ยงเรียกว่า "ทูลื่อ"

ดู ทอผ้าหน้า 2 (วิธีการทอและลายผ้า)

การปั่นด้ายจากฝ้าย

การตีฝ้าย

การปั้นแท่งฝ้าย

การถอดแท่งฝ้ายจากไม้แบบ

การปั่นด้าย

ที่มา

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา online, การทอผ้า (1), http://www.hilltribe.org/thai/karen/karen-weaving1.php

 

ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549

ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม



รู้จักอุ้มผางในอีกมุมมอง จัดทำโดย widebase

ดูรายละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase