ปกากะญอและโพล่ว

Home

Widebase Tour
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
widebase tour
อุ้มผาง
ปกากะญอและโพล่ว
เดินทางท่องเที่ยว
 
ปกากะญอและโพล่ว
ความเชื่อและศีลธรรม
ประเพณี
วิถีชีวิต
 
วิถีชีวิต
การเกิด
การแต่งงาน
การตาย
การทอผ้า
การทำไร่หมุนเวียน
 

ประมวลภาพอุ้มผาง
ประเพณีปีใหม่เพอเจะ
งานบุญกวนน้ำนมข้าว
งานศพ
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 1
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 2

ดูรายละเอียด

การแต่งงาน

พิธีแต่งงานชาวปกากะญอในอุ้มผางจะถือว่าเป็นงานของชุมชน ส่วนที่ไม่ได้นับถือเพอเจะจะทำการต้มเหล้าสำหรับการเลี้ยงแขก ตามปกติงานแต่งงานจะเป็นงานเยี่ยมญาติพี่น้องในหมู่บ้านนั้นไปในตัว รายละเอียดพิธีแต่งงานนี้เป็นของชาวปกากะญอในเชียงราย มาจากเว็บไซต์ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา online

สู่ขอ (เอาะ เฆ)

เรื่องราวของการสู่ขอมีลักษณะดังนี้เมื่อเป็นที่รับรู้แล้วว่าหญิงชายรักชอบพอกัน พ่อแม่และญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงก็จะส่งคนไปหาฝ่ายชาย เพื่อสอบถามให้แน่ใจว่าฝ่ายชายรัก และยินดีที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงจริงหรือไม่ หากฝ่ายชายรักชอบพอกัน และยินยอมที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงก็จะมีการนัดหมายวันเวลาทำพิธีแต่งงานกันในเวลานั้น (ตามหลักประเพณีกะเหรี่ยงฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย)

การหมั้นหมาย (เตอะ โหล่)

เมื่อฝ่ายชายตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับฝ่ายหญิงและนัดหมายวันเวลาแต่งงานที่แน่นอน แล้วฝ่ายชายก็ส่งเถ้าแก่ ่ไปทำพิธีหมั่นหมาย ฝ่ายหญิงก่อนวันแต่งงานในพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าไก่ 2 ตัว ในการู่ทำอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองเถ้าแก่ของ่ฝ่ายชายและ วันรุ่งขึ้นก็จะนัดหมายวันเวลาท ี่ฝ่ายชายและเพื่อนๆ จะมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำพิธีแต่งงานต่อไป

หมูแรกทำพิธี (เทาะ เตาะ)

เทาะเตาะ คือหมูตัวแรกที่ใช้ฆ่าในพิธีแต่งงาน และจะนำเนื้อหมูมาเอาไว้เป็นเครื่องบูชา เพื่อขอเทวดามาอวยพรเจ้าบ่าวเจ้า สาวและผู้ร่วมงานทุกคน เมื่อถึงเวลาออกเดินทางไปสู่หมู่บ้านเจ้าสาว เถ้าแก่ของเจ้าบ่าวและเพื่อนเจ้าบ่าวจะลงไปอยู่พร้อม กันที่พักหน้าหมู่บ้านและจะปูเสื่อเพื่อนั่งปรึกษาหารือกัน จากนั้นเถ้าแก่จะทำพิธีรินเหล้าและอธิฐานขอพร เมื่อเสร็จพิธีก็จะออกเดินทางโดยมีเจ้าบ่าวและเพื่อนๆ ของเจ้าบ่าวร่วมเดินทางกันอย่างพร้อมเพรียงกัน เมื่อเดินทางมาถึงบ้านเจ้าสาว เพื่อนบ้านของเจ้าสาวก็จะคอยต้อนรับ โดยจะให้ไปพักที่พักชั่วคราวบริเวณหน้าบ้าน เพื่อทำพิธีดื่มเหล้า เสร็จพิธีดื่มหัวเหล้า (เหล้าขวดแรกที่ใช้ดื่มในพิธี) หลังจากนั้นก็จะขึ้นไปสู่บ้านเจ้าสาวเพื่อพักผ่อน และดื่มเหล้าพร้อมกับขับลำนำโต้ตอบกัน ระหว่างเพื่อนเจ้าบ่าวที่เป็นคนต่างถิ่นและเพื่อนเจ้าสาวที่เป็นคนต่างถิ่น และเพื่อนเจ้าสาวที่เป็นคนในถิ่น ในขณะเดียวกันนี้ญาติพี่น้องของเจ้าสาวก็จะทำการฆ่าหม ูเพื่อทำอาหารสำหรับเลี้ยงต้อนรับแขกที่มาในงานทุกคน รวมถึงเพื่อนเจ้า บ่าวที่มาจากต่างถิ่นมารับประทานอาหารร่วมกัน เสร็จแล้วก็จะเป็นเวลาส่วนตัวของแต่ละคน ที่จะพักผ่อนนอนหลับหรือเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านอื่นๆ และขับลำนำโต้ตอบกัน ซึ่งบางคนบางกลุ่มูก็จะเที่ยวขับลำนำตลอดคืนเลยก็มี

 

ไก่ขอพรระหว่างเดินทางกลับ (ชอ โจ่ ลอ)

ฝ่ายหญิงก็จะทำการฆ่าไก่ 2 ตัว ต้มให้สุกแล้วห่อใหเถ้าแก่และเพื่อนของเจ้าบ่าวนำกลับไปเพื่อเป็น อาหารเมื่อออกจากหมู่บ้านของเจ้าสาวซึ่งระหว่างทาง จะหยุดอยู่ข้างทางเถ้าแก่จะทำพิธีถวายอาหารแด่เทพยดา เพื่อเป็นการอวยพรแก่ผู้ร่วมเดินทาง ให้ได้รับความปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลาย และกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพจากนั้นทุกคนที่มาด้วยกัน จะต้องช่วยกันกินไก่กับข้าวให้หมด พอกลับถึงบ้านแล้วทุกคนก็จะม รวมกันตัวกันตรงจุดหน้าบ้านของเจ้าบ่าว ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับบ้านของตน แล้วเถ้าแก่ก็จะทำพิธีดื่มหัวเหล้าอีครั้งเป็น ครั้งสุดท้าย วันรุ่งขึ้นวันหนึ่งเพื่อนบ้านทุกคนจะหยุดงาน ซึ่งถือเป็นข้อห้าม ข้อห้ามนี้เรียกว่า ดึ เทาะ โค่ เบล

การผูกขวัญร่วมกันระหว่างเจ้าบ่าวและเจ้าสาว (กี่ ฆึ จือ) หลังจากอยู่ร่วมกันนานสามวันสามคืน แล้วพ่อแม่ของเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะทำพิธีผูกขวัญให้ โดยจะผูกร่วมกันระหว่างเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ซึ่งการผูกขวัญร่วมกันนี้มีความหมายว่าทั้งสองคนได้กลายเป็นหนึ่งอัน เดียวกันแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

ที่มา

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา online, การแต่งงาน, http://www.hilltribe.org/thai/karen/karen-marry.php

 

ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549

ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม



รู้จักอุ้มผางในอีกมุมมอง จัดทำโดย widebase

ดูรายละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase