![]() |
ปกากะญอและโพล่ว |
Widebase Tour |
|
ประมวลภาพอุ้มผาง |
|||||||||||||||||
การทอผ้าวิธีการทอผ้าวิธีการทอมี 2 ชนิด วิธีการทอธรรมดาและการทอลวดลาย วิธีการทอธรรมดาหรือทอลายขัดวิธีการทอธรรมดา เป็นการสอดด้ายขวางเข้าไประหว่างด้ายยืน ซึ่งแยกสลับกันขึ้น 1 ลง 1 หรือขึ้น 2 ลง 2 ตามจำนวนเส้นด้ายที่เรียงเมื่อขึ้นเครื่องทอ ผ้าที่ได้เนื้อผ้าจะเรียบ สมํ่าเสมอ และเป็นสีเดียวกันตลอดผืน ใช้สำหรับเย็บชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ และเย็บกางเกงผู้ชายเท่านั้น โดยปกติด้ายยืน และด้ายขวางที่ใช้ในการทอแบบธรรมดาจะมีจำนวนเท่ากัน ยกเว้นกรณีที่ใช้ด้ายต่างชนิดกัน เช่น ด้ายยืนเป็นด้ายสำเร็จรูปซึ่งเส้นเล็ก และด้ายขวางพื้นเมือง มีขนาดเส้นใหญ่ ต้องใช้ด้านยืนจำนวนมากกว่าด้ายขวาง วิธีการทอเป็นลวดลายผ้าที่ทอใช้ส่วนใหญ่จะมีลวดลายประกอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ ประโยชน์และความนิยม เช่น ชุดหญิงสาวสะกอจะมีลายขวางบริเวณเหนืออก ผ้าถุงของหญิงแต่งงานแล้วจะทอลวดลายบริเวณไหล่อย่างสวยงาม เป็นต้น การทอเป็นลวดลายจะเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงโปมากกว่าผู้หญิงสะกอ การประดิษฐ์ลวดลายในผืนผ้าการประดิษฐ์ลวดลายในผืนผ้า ขณะทอ มีขั้นตอนดังนี้ ลายในเนื้อผ้าลักษณะลวดลายจะปรากฏ เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ หากเป็นลายนูนตามแนวตั้ง การกำหนดลายจะทำพร้อมกับการเรียงด้าย คือใช้จำนวนด้ายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมนที่ที่ต้องการให้เป็นลายนูน ส่วนด้ายขวางใช้จำนวนเท่าปกติ การทอวิธีนี้นิยมใช้ทอเสื้อผู้ชายสูงอายุของเผ่ากะเหรี่ยง ลวดลายสลับสีเป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว ( ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ ลายจกเป็นการทอลวดลายโดยการสอดด้ายสลับ ( ซึ่งไม่ใช่ด้ายเส้นเดียวกับด้ายขวางเข้าไปเป็นบางส่วนในเนื้อผ้า ตามลวดลาย และสีในตำแหน่งที่ต้องการ การยกด้ายยืนจะไม่เป็นไปตามการยกตะกอ แต่ผู้ทอจะใช้นิ้วมือ หรือขนเม่นช่วยสอดยกด้ายขึ้นตามจำนวนที่กะไว้ และสอดด้ายสีที่ต้องการเข้าไป ระหว่างด้ายยืนนั้น ฉะนั้นลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าทั้งผืนอาจไม่เหมือนกันก็ได้ ลายขิดคือการทอผ้าโดยให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัวโดยกำหนดสีตามด้ายยืน การแยกด้ายยืนใช้วิธีนับเส้นเป็นช่าง ๆ และสอดไม้หน่อสะยาเข้าไปเป็นตัวนำ ไม้จะช่วยแยกด้ายให้ช่องระหว่างด้ายยืนกว้างเพื่อความสะดวกในการสอดด้ายขวาง กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายสลับซับซ้อนน้อยกว่า และของอีสานไม่นิยมทอลายขิดพร้อมกับการสลับสี แต่ของกะเหรี่ยงนิยมทอลายขิด และเล่นลายสลับสี ดังนั้นในผ้าผืนเดียวจึงมีทั้งลวดลายยกดอกนูนขึ้นมาของลายขิด และลายเล่นสีสลับกัน การวางลายลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิงปกากะญอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป การตัดเย็บการตัดเย็บตามปกติแล้ว ผ้าจะเป็นผ้าหน้าแคบ จำกัดตามขนาดเครื่องทอ คือ กว้างที่สุดไม่เกิน 20 นิ้ว ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ทอ ดังนั้นการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่มของกะเหรี่ยง จึงเป็นการนำผ้าทั้งผืนมาเย็บประกอบกัน โดยพยายามตัดให้น้อยที่สุด เนื่องจากในอดีตกะเหรี่ยงไม่มีกรรไกรใช้ ผ้าที่ทอแต่ละชิ้นเมื่อนำมาประกอบกันเป็นเครื่องนุ่งหม่แล้ว จะไม่มีเศษเหลือทิ้ง การแบ่งผ้าจึงทำโดยใช้มีดคม ๆ กรีดตามแนวขวางของผืนผ้าเท่านั้น ด้วยเหตุนี้รูปทรงของเสื้อผ้ากะเหรี่ยงจึงไม่มีส่วนโค้งเว้า เพราะเป็นการยากที่จะใช้มีดกรีดผ้าให้ได้ลักษณะเช่นนั้น สิ่งสำคัญในการนำผ้ามาประกอบกัน คือ ต้องเป็นผ้าที่ทอขึ้นสำหรับเครื่องนุ่งห่มตัว หรือผ้าผืนนั้น โดยเฉพาะจะนำไปประกอบกับส่วนของตัวหรือผืนอื่นไม่ได้ เช่น ผ้าที่ทอเพื่อเย็บเป็นเสื้อผู้ชายจะนำมาเย็บเป็นย่าม หรือผ้าห่มไม่ได้ และผ้าที่ทอสำหรับเย็บย่ามก็ไม่สามารถนำมาเย็บเป็นเสื้อ หรือผ้าห่มได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากได้กำหนดลวดลายสี และขนาดไว้อย่างแน่นอนแล้ว ก่อนที่จะทอผ้าแต่ละผืนนั่นเอง ดู ทอผ้าหน้า 1 (การกะขนาดและการขึ้นทอ) ที่มา พิพิธภัณฑ์ชาวเขา online, การทอผ้า (2), http://www.hilltribe.org/thai/karen/karen-weaving2.php
ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549 |
ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม | ||||||||||||||||
สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase |