ปกากะญอและโพล่ว

Home

Widebase Tour
Knowledge Developer Database Internet Resource Forum
widebase tour
อุ้มผาง
ปกากะญอและโพล่ว
เดินทางท่องเที่ยว
 
ปกากะญอและโพล่ว
ความเชื่อและศีลธรรม
ประเพณี
วิถีชีวิต
 
ความเชื่อและศีลธรรม
ความเชื่อ
ขวัญ
สัตว์ในโลกทัศน์ของ ชาวปกากะญอและโพล่ว
ศีลธรรมของเพอเจะ
 

ประมวลภาพอุ้มผาง
ประเพณีปีใหม่เพอเจะ
งานบุญกวนน้ำนมข้าว
งานศพ
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 1
วิถีชีวิตชาวปกากะญอ 2

ดูรายละเอียด

ศีลธรรมของเพอเจะ

เพอเจะหรือฤาษีตามคำเรียกของคนไทย เป็นความเชื่อหรือศาสนาของชาวปกากะญอและโพล่ว ในแถบทุ่งใหญ่นเรศวรและพม่า ลุงพินิจ บ้านมอทะ หมู่ 7 ตำบลแม่จัน อดีตลูกศิษย์ "เพอเจะ" อธิบายว่าหลักทางศีลธรรมมี 5 ข้อ คล้ายกับศีล 5 ของพุทธแต่ลำดับความสำคัญต่างกันเล็กน้อย คือ

  1. ห้ามประพฤติผิดในกาม
  2. ห้ามกินเหล้า
  3. ห้ามฆ่าคน
  4. ห้ามโกหก
  5. ห้ามลักขโมย

การปฏิบัติตัวที่สำคัญอื่น คือ การห้ามเลี้ยงไก่และหมู ลุงเนเต๊อะ เล่าถึงตำนานว่า “เพอเจะเห็นว่า การเลี้ยงไก่และหมู่ของชาวโพล่วทำให้มีเครื่องเซ่นติดต่อกับผี ดังนั้นจึงห้ามการเลี้ยงไก่และหมูเพื่อไม่ให้ติอต่อกัน” แต่สามารถล่าสัตว์ป่าและกินเนื้อปลาได้

เมื่อมีการปฏิบัติผิด เช่น ร่วมวงดื่มสุรา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ดื่ม ต้องเชิญผู้อาวุโสที่มีความรู้มารับปวารณาความผิด

การประพฤติผิดในกาม โดยเฉพาะการมีชู้เป็นเรื่องที่รุนแรงมาก ถ้าจับได้ จะให้ผู้กระทำผิดเปลือยกายถือต้นงิ้วเดินไปรอบหมู่บ้านและเนรเทศให้ไปอยู่นอกหมู่บ้าน 3 ปี

การลักลอบได้เสียของหนุ่มสาวก่อนแต่งงาน จะต้องออกไปจากหมู่บ้าน เมื่อฝ่ายหญิงคลอดลูกแล้วจึงกลับมาได้ การออกจากหมู่บ้านอาจจะไปอาศัยในตู๊บไร่หรือนาที่คนในหมู่บ้านยอมรับได้

ผู้นำทางศาสนาเรียกว่า “เพอเจะ” การสืบทอดเป็นการมอบตำแหน่งโดยเพอเจะองค์ก่อนตามบุญบารมี โดยพำนักที่บ้านไล่ตังคุ เพอเจะทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ทางการเมือง และเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทในสังคมสูงสุด

ในแต่ละหมู่บ้านจะทำศาสนสถานเป็นเจดีย์ก่อด้วยดิน เจดีย์นี้ต้องทำใหม่ทุกปีเมื่อถึงเทศกาลทำบุญตามปกติเป็นเดือนเดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติ ผู้นำพิธีกรรมเรียกเป็นไทยว่า "เจ้าวัด" รวมถึงเป็นผู้ติดต่อกับเพอเจะโดยตรง เนื่องจากชาวบ้านที่สามารถเข้าถึงศาสนสถานที่บ้านไล่ตังคุได้ต้องมีความบริสุทธิ์ในการปฏิบัติศีลตามหลักศาสนา

คำสอนของเพอเจะตอนหนึ่งกล่าวถึงวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์มี 5 ยุค ในสังคมยุคสุดท้ายคือ อาริยเมตไตร เป็นสังคมที่ทุกคนเต็มไปด้วยศีลธรรม เจริญรุ่งเรือง และทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ชาวบ้านแม่จันทะเดิมอาศัยแถบ อำเภอบ้านไร่ อุทัยธานี และอำเภอด่านช้าง สุพรรณบุรี ได้อพยพมาเข้ารีตเพอเจะ เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว

 

ปรับปรุงข้อมูล 25 ธันวาคม 2549

ปันน้ำใจโครงการนักเรียนบ้านไกล โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม



รู้จักอุ้มผางในอีกมุมมอง จัดทำโดย widebase

ดูรายละเอียด

สงวนลิขสิทธิ์ (R) widebase