Microsoft Access

Home

Microsoft Access Tutorial
Knowledge Developer Database Internet Resource
การออกแบบฐานข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูล
แนวคิดในการออกแบบฐานข้อมูล
อ๊อบเจคของAccess
วิธีการออกแบบฐานข้อมูล
การกำหนด Table และฟิลด์
 
Access Tutorial
การออกแบบฐานข้อมูล
การสร้างฐานข้อมูล
Table
คิวรี่
ฟอร์ม
รายงาน
มาโคร
โปรแกรม Access
แนะนำ VBA
เมนูคำสั่ง Tools
คุณสมบัติฟิลด์
 
Microsoft Access
Access Tutorial
Access 2007
Access Sample
 
Developer
Visual Basic
Microsoft Access
Microsoft Excel
 

การกำหนด Table และฟิลด์

การกำหนด Table

  1. วิธีการจัดกลุ่ม ควรจัดกลุ่มข้อมูลในแต่ละ Table ควรให้มีเพียงวัตถุประสงค์เดียว เพื่อความสะดวกใน การจัดทำขั้นตอนการทำงาน และการประมวลผลข้อมูล
  2. การจัดกลุ่มข้อมูล ถ้าการจัดกลุ่มข้อมูลในแต่ละ Table ทำได้ถูกต้อง ฟิลด์ทุกฟิลด์จะต้องมีข้อมูลที่นำไปเก็บ และข้อมูลแต่ละข้อมูล จะต้องมีการบันทึกเพียงครั้งเดียว
    ถ้าแต่ละเรคคอร์ดที่เพิ่มเข้าไปแล้ว ปรากฏมีฟิลด์ว่าง ไม่ได้ใช้เก็บข้อมูล แสดงว่าฟิลด์ที่กำหนดนั้น อาจจะมีความสัมพันธ์ กับข้อมูลกลุ่มอื่น มากกว่าจัดเก็บใน Table ที่กำหนดไว้
    ถ้าการบันทึกข้อมูล พบว่ามีฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่ง มีการบันทึกมากกว่า 1 ครั้ง ควรพิจารณาว่า ฟิลด์นั้นมีความเหมาะสม ที่จะอยู่ใน Table ใดมากกว่า และสามารถส่งข้อมูลไปยัง Table ที่เรียกใช้ด้วยคิวรี่ เพื่อการแสดงผลของ 2 Table เป็นกลุ่มข้อมูล (Recordset)
  3. ข้อมูลกลุ่มเดียวกันควรเก็บด้วยกัน ในบางกรณีอาจจะมีบาง Table ที่มีฟิลด์ต่างๆ เหมือนกันทั้งหมด แต่มีการแยกข้อมูล เช่น การสร้าง Table ใบสั่งซ่อมเดือนมกราคม ใบสั่งซ่อมเดือนกุมภาพันธ์ ในลักษณะนี้ Table ควรรวมกัน แล้วการแยกเป็นรายเดือนด้วยคิวรี่ เพราะต้องคำนึงว่าการวิเคราะห์เงื่อนไขอื่นจะทำได้ยาก เช่น การวิเคราะห์เป็นรายไตรมาส รายปี หรือ ประวัติรวมของเครื่องจักร
  4. กลุ่มข้อมูลค่าคงที่ จะช่วยในการเก็บรายละเอียดของค่าคงที่ต่างๆ เพื่อสามารถทำให้ข้อมูลในแต่ละ ฟิลด์มีความเหมือนกัน โดยการใช้เครื่องมือ เช่น Combo Box และลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล ซึ่งคิวรี่สามารถ ทำหน้าที่โดยไม่จำเป็นต้องมีการเก็บค่า

การกำหนดฟิลด์

  1. ข้อมูลแต่ละฟิลด์ใน Table เดียว ควรสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ Table ในการเก็บสารสนเทศ
  2. ค่าที่มาจากคำนวณ ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ใน Table เช่น ผลรวมสามารถใช้ [ราคาต่อหน่วย] * [จำนวน] หรือจำนวนวันซ่อม สามารถใช้ [วันที่ซ่อมเสร็จ] - [วันที่แจ้งซ่อม] ซึ่งคิวรี่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บค่าลักษณะนี้
  3. เก็บค่าเท่าที่จำเป็น เช่น ชื่อพนักงานใน Table ต่างๆ สามารถเก็บเฉพาะรหัสพนักงาน แต่เมื่อต้องการ แสดงรายละเอียดของพนักงานให้ใช้คิวรี่เชื่อมระหว่าง Table ที่เก็บรายละเอียดพนักงานกับ Table ที่เก็บเฉพาะรหัสพนักงาน แล้วให้แสดงผลลัพธ์และข้อมูลที่ต้องการออกมา ทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บค่าเดียวในหลายๆ แห่ง

 

  

สงวนลิขสิทธิ์ (C) widebase