Microsoft Access

Home

Microsoft Access Tutorial
Knowledge Developer Database Internet Resource
การออกแบบฐานข้อมูล
การออกแบบฐานข้อมูล
แนวคิดในการออกแบบฐานข้อมูล
อ๊อบเจคของAccess
วิธีการออกแบบฐานข้อมูล
การกำหนด Table และฟิลด์
 
Access Tutorial
การออกแบบฐานข้อมูล
การสร้างฐานข้อมูล
Table
คิวรี่
ฟอร์ม
รายงาน
มาโคร
โปรแกรม Access
แนะนำ VBA
เมนูคำสั่ง Tools
คุณสมบัติฟิลด์
 
Microsoft Access
Access Tutorial
Access 2007
Access Sample
 
Developer
Visual Basic
Microsoft Access
Microsoft Excel
 

วิธีการออกแบบฐานข้อมูล

ข้อคำนึงพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล คือ การนำข้อมูลเข้าไปจัดเก็บ ในตำแหน่งที่สามารถเรียกออกมาแสดงผลได้ตรงกับความต้องการ และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กระบวนการวิเคราะห์จะเริ่มการพิจารณา ดังนี้

  1. วิเคราะห์เป้าหมายของฐานข้อมูล เพื่อที่จะทราบว่าจะเก็บข้อมูลประเภทไหน วัตถุประสงค์ของการใช้งาน และต้องการประมวลผลอะไรบ้าง จะทำให้ทราบขอบเขตในการทำงาน และการรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้อง กับการใช้งาน
  2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลสำหรับการจัดเก็บ และพิจารณาความสัมพันธ์ ในด้านการประมวลผล เพื่อแสดงผลที่ต้องการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. วิเคราะห์การจัดเก็บข้อมูล เมื่อทราบจุดมุ่งหมาย และ ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆแล้ว จึงนำมาจัดกลุ่มเพื่อกำหนด Table ที่ใช้ในการเก็บให้สอดคล้องกับการทำงาน และความสามารถของ Access
  4. วิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูล เพื่อทำให้ฐานข้อมูล มีสารสนเทศที่เพียงพอกับวิเคราะห์ และการใช้งานในแต่ละ Table ควรจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน
  5. วิเคราะห์การไหลของข้อมูล เพื่อทำให้สามารถออกแบบขั้นตอนการทำงาน ของโปรแกรมให้สอดคล้อง กับลักษณะการทำงาน มีความสะดวก และป้องกันความผิดพลาด หรือการรวบรวมสารสนเทศไม่ครบ

การกำหนด Table ตามคุณลักษณะของข้อมูล

จากการที่ Access เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ออกแบบในลักษณะ Relational Database ดังนั้น วิธีการ ออกแบบต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของ Table ในการใช้งานประกอบด้วย จึงจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูล และเรียกงานมาใช้ได้สะดวก เพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายถึงวิธีการจำแนกข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ Table จึงแบ่งลักษณะการประยุกต์ Table ตาม วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. Table เก็บข้อมูล หรือ Transaction file ข้อมูลในที่นี้หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่มีการบันทึกเป็นประจำ และเป็นข้อมุลที่แสดงการเคลื่อนไหวของระบบงาน เช่น รายการขายสินค้า รายการรับเข้าสินค้า การมาทำงานของพนักงาน เป็นข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์และประมวลผล
  2. Table เก็บค่าคงที่ หรือ Master file ค่าคงที่ในที่นี้หมายถึง ข้อมูลที่ใช้การประกอบในการวิเคราะห์ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยและทำหน้าที่เป็นข้อมูลหลักสำหรับการอ้างอิง เช่น รายชื่อลูกค้า รายชื่อพนักงาน รหัสเครื่องจักร

การแบ่งข้อมูลและ Table ออกเป็น 2 ลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะดวกในการจัดเก็บ และการวิเคราะห์โดย Table เก็บข้อมูล จะกำหนดให้พิจารณาเก็บเฉพาะข้อมูลเบื้องต้น ที่ต้องนำไปใช้ในการประมวลผล ในส่วน Table เก็บคงที่ จะนำไปใช้งานเพื่อป้องกันการป้อนค่าผิด เนื่องจากเป็นค่าอ้างอิงของระบบงาน ด้วยการใช้วิธีเลือกรายการที่มีอยู่ (เช่น สร้างเป็น Combo box) หรือใช้ดึงมาแสดงผลผ่านคิวรี่ ในการจัดแบ่งตามคุณสมบัติของ Table จะทำให้การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บ และ การประมวลผลข้อมูลทำได้โดยสะดวก

 

  


สงวนลิขสิทธิ์ (C) widebase