IT A-Z

เข้าสู่ระบบ

สารบาญตามตัวอักษร

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z #

OSI (Open Systems Interconnection)

ที่มา

  :   ผู้ชม 14382

OSI (Open Systems Interconnection) เป็นคำอธิบายมาตรฐาน หรือ "reference model" (แบบจำลองอ้างอิง) สำหรับวิธีการส่งผ่านข่าวสารระหว่างจุด 2 จุดในเครือข่ายการสื่อสาร วัตถุประสงคือ เป็นการแนะนำการสร้างผลิตภัณฑ์ สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น แบบจำลองอ้างอิงกำหนดเป็น 7 เลเยอร์ ของการทำงานที่เกิดขึ้นที่ จุดปลายของการสื่อสาร ถึงแม้ว่า OSI จะไม่เข้มงวดใน ด้านการรักษาความสัมพันธ์ กับฟังก์ชันอื่นในเลเยอร์ที่กำหนด แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ ในด้านโทรคมนาคมพยายาม ที่จะกำหนดตัวเองให้สัมพันธ์ กับแบบจำลอง OSI ซึ่งเป็นประโยชน์ในฐานะ การอ้างอิงแบบเดียว ในด้านการสื่อสาร มีผลทำให้ทุกคนมีบรรทัดเดียวกันในการศึกษาและแลกเปลี่ยน

OSI มีจุดเริ่มต้นในการข้อมกำหนดรายละเอียดของการอินเตอร์เฟซ ซึ่งมีการพัฒนาโดยตัวแทนของบริษัทคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมรายใหญ่ในปี 1983 เมื่อเริ่มทำงาน คณะกรรมการตัดสินใจว่า ต้องการกำหนดแบบทั่วไป สำหรับให้บุคคลอื่น สามารถพัฒนา รายละเอียดการอินเตอร์เฟซ แต่กลับเป็นว่าได้กลายเป็นมาตรฐาน OSI ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก International Organization for Standardization (ISO) ปัจจุบันมีการแนะนำ x.200 ของ ITU-TS

แนวคิดหลักใน OSI คือเป็นกระบวนการของการสื่อสารระหว่างจุดปลาย 2 จุด ในเครือข่ายโทรคมนาคม ที่สามารถแบ่งเป็นเลเยอร์ (layer) โดยแต่ละเลเยอร์ จะเพิ่มกลุ่มฟังก์ชันของตัวเอง ผู้ใช้การสื่อสาร หรือโปรแกรมแต่ละราย ที่คอมพิวเตอร์ต่อเข้ากับฟังก์ชันในเลเยอร์ ดังนั้น ข่าวสารระหว่าง ผู้ใช้จะเป็นการไหลของข้อมูล ผ่านแต่ละเลเยอร์ ในคอมพิวเตอร์ และที่ปลายอีกด้านหนึ่ง เมื่อข่าวสารมาถึง ข้อมูลไหลไปที่ เลเยอร์ด้านรับของคอมพิวเตอร์และผ่านไปยังผู้ใช้หรือโปรแกรม โปรแกรมจริงและฮาร์ดแวร์ที่จบการทำงานของทั้ง 7 เลเยอร์ ซึ่งตามปกติ รวมถึงระบบปฏิบัติการ ของคอมพิวเตอร์, โปรแกรมประยุกต์ และฮาร์ดแวร์ที่ให้วางสัญญาบนสายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

OSI แบ่งโทรคมนาคม เป็น 7 เลเยอร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มบน 4 เลเยอร์ ใช้ในการส่งผ่านข่าวสารจาก หรือไปยังผู้ใช้ เลเยอร์ทั้ง 7 เลเยอร์ คือ

เลเยอร์ 7 application layer, เลเยอร์นี้เป็นส่วนการสื่อสารได้รับการระบุ, คุณภาพการบริการมีการระบุ, user authentication และส่วนบุคคลได้รับการพิจารณา ข้อจำกัดบนไวยากรณ์ข้อมูล ได้รับการระบุ (เลเยอร์นี้ไม่ใช่การประยุกต์โดยตัวเอง แต่บางโปรแกรมประยุกต์ อาจจะทำงานใน application layer)

เลเยอร์ 6 presentation layer, เลเยอร์นี้ เป็นส่วนของระบบปฏิบัติการที่แปลงข้อมูลนำเข้า และส่งออกจากรูปแบบการนำเสนอไม่เป็นรูปแบบอื่น (ตัวอย่าง เช่น จากชุดข้อความ เป็น popup window กับ ข้อความที่มาถึงใหม่) บางครั้งเรียกว่า syntax layer

เลเยอร์ 5 session layer, เลเยอร์นี้ ตั้งค่า ประสานงาน แลกเปลี่ยน และหยุดการสนทนา โต้ตอบระหว่างโปรแกรมประยุกต์ที่แต่ละจุดปลาย ซึ่งเกี่ยวข้องถึง session และการประสานเชื่อมต่อ

เลเยอร์ 4 transport layer, เลเยอร์นี้ จัดการตัวควบคุม end-to-end (ตัวอย่าง เช่น การหาว่าแพ็คเกตทั้งหมดมาถึงครบหรือไม่) และตรวจสอบความผิดพลาด เป็นการทำให้มั่นใจว่าการส่งผ่านข้อมูลสมบูรณ์

เลเยอร์ 3 network layer, เลเยอร์นี้ดูแลเส้นทางของข้อมูล (ส่งให้ถูกทิศทางไปยังปลายทางที่ถูกต้อง ขณะที่ส่งผ่านออกไป และการรับ เมื่อส่งผ่านเข้ามาที่ระดับแพ็คเกต) network layer ทำงานด้านเส้นทางและการส่งต่อ

เลเยอร์ 2 data-link layer, เลเยอร์นี้ให้การ synchronization สำหรับระดับกายภาค และทำ bit-stuffing สำหรับข้อความของ 1 มากกว่า 5 เปิดการรับรู้และจัดการโปรโตคอลการส่งผ่าน

เลเยอร์ 1 physical layer, เลเยอร์นี้ส่งผ่าน bit system ผ่านเครือข่ายที่ระดับไฟฟ้าและกลไก เป็นการให้วิธีการกับฮาร์ดแวร์ในการส่งและรับข้อมูลบนตัวกลาง

ศัพท์เกี่ยวข้อง

network, TCP/IP, ISO

update: 15 ตุลาคม 2545

IT A-Z ปรับปรุงล่าสุด
abacus
zero-day exploit
MPP (massively parallel processing)
message queueing
medium
semaphore
master/slave
MAC address (Media Access Control address)
mash-up
vlog
LANDesk Client Manager
laptop computer
linkrot
Itanium
Job Entry Subsystem (JES)
IP telephony (Internet Protocol telephony)
Kerberos
iterative
interoperability
interface definition language (IDL)

Loading
Microsoft Access
Access
дЄВЗСІ№м ตГРЎТГГСต№мКС№ตФ КСиงซЧйНјиТ№ PayPal г№ГТคТ 280 єТท
НШйБјТง аєЧйНงЛЕСงёГГБЄТตФ
Umphang
ГЩйЁСЎНШйБјТงг№НХЎбงиБШБ вґВ ปГРЄТ бБиЁС№
КСиงซЧйНјиТ№ PayPal г№ГТคТ 90 єТท
КงЗ№ЕФўКФทёФм (C) widebase